O4 ข้อมูลคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ของสถานีตำรวจ

ที่มาของ กต.ตร.

      ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 76* กำหนดว่า “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ”
      บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญคังกล่าวได้ถูกนำมาปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเมื่อครั้งมี พ.ร.ฎ.โอนกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยไปจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2541 โดยได้กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้เป็นองค์กรที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดน โยบายและการตรวจสอบการใช้อำนาจของข้าราชการตำรวจระดับต่าง ๆ
      การจัดตั้งองค์กรคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจครั้งแรกได้ออกเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ พ.ศ. 2542 ตามระเบียบนี้กำหนดให้มี กต.ตร. 2 ระดับ คือ
          (1) คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า ” กต.ตร.”
          (2) คณะกรรมกรตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจกรุงเทพมหานคร เรียกโดยย่อว่า กต.ตร.กทม. และคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจจังหวัด เรียกโดยย่อว่า กต.ตร.จังหวัด
      ต่อมาคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจแห่งชาติ ( กต.ตร. ) ได้ออกระเบียบ กต.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับสถานีตำรวจ พ.ศ. 2543 กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานระดับสถานีตำรวจในสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรภาค 1 ถึง9 เรียกโดยย่อว่า “กต.ตร.สถานีตำรวจ” และตามข้อ 10 ของระเบียบดังกล่าวได้ให้อำนาจสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งคณะกรรมการหน่วยงานอื่นในระดับเดียวกับสถานีตำรวจซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งได้แก่ ตำรวจทางหลวง ตำรวจท่องเที่ยวและตำรวจรถไฟ
     ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการตรา พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ขึ้นเพื่อเป็นกฎหมายบริหารราชการตำรวจ ตามกฎหมายนี้มีบทบัญญัติที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานตำรวจ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวข้างต้นไว้อย่างชัดเจน โดยกำหนดไว้ในมาตรา 7 ว่า
    ” ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งสริมให้ท้องถิ่นและ ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจเพื่อป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อย และรักษาความปลอดภัยของประชาชนตามความเหมาะสม และความต้องการของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้การคำเนินการมีส่วนร่วมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.ช. กำหนด “
       พร้อมกันนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารงานตำรวจโดยกำหนดให้มีองค์กรนโยบายขึ้นใหม่แทนคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานดำรวจแห่งชาติ (กต.ตร.) เรียกว่าคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า ก.ต.ช. มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารราชการตำรวจ และกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ปฏิบัติตามน โยบาย ระเบียบแบบแผน มติคณะรัฐมนตรีและกฎหมาย นอกจากนี้ยังให้มีอำนาจหน้าที่ในการ

           1) ออกระเบียบ ประกาศ หรือมีมติในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารราชการตำรวจและวิธีปฏิบัติราชการของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามแบบแผนและนโยบายที่ ก.ต.ช. กำหนด
          2) เสนอแนะให้มีการตรา พ.ร.ฏ.โอนอำนาจหน้าที่ให้เป็นของหน่วยงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นใด ตามมาตรา 6 วรรคสอง
          3) พิจารณาคำเนินการคัดเลือกข้าราชการตำรวจเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
          4) กำหนดกระบวนการและขั้นตอนในการกระจายอำนาจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับตำรวจภูธรจังหวัด และราชการส่วนท้องถิ่น ในกรณีที่ ก.ต.ช. เห็นว่ามีความจำเป็น
          5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่ ก.ต.ช.มอบหมาย
          6) ตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารราชการตำรวจให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น
          7) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือตามที่มึกฎหมายกำหนด
         และยังคงให้มีกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจกรุงเทพมหานคร จังหวัดและสถานีตำรวจอยู่ โดยกำหนดให้เป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายการบริหารงานตำรวจของข้าราชการตำรวจในเขตพื้นที่แล้วรายงาน ก.ต.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณี ซึ่งแตกต่างไปจากอำนาจหน้าที่เดิม
          ส่วนแนวคิดในการกำหนดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของ กต.ตร.กทม. จังหวัด และสถานีตำรวจ ยังคงให้เป็นองค์กรที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยเปิด โอกาสให้กับประชาชนในชุมชนและหมู่บ้านกว้างมากขึ้น ทั้งต้องการให้เป็นองค์กรที่มีบทบาทตามนัยมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติด้วย รวมตลอดทั้งให้มีความเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับระบบการบริหารราชการของประเทศ (ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้กรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ด้วย) ดังนั้นในการกำหนดองค์ประกอบของ กต.ตร. ในปัจจุบันจึงกำหนดให้มีสัดส่วนของประชาชนในชุมชน/หมู่บ้านมากขึ้น ตลอดจนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ที่เป็นผู้ใช้บริการของตำรวจ พร้อมทั้งให้ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับสถานีตำรวจยังเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้บริหารส่วนท้องถิ่นสามารถเป็นประธาน กต.ตร.สถานีตำรวจได้
            1.บทบาทภารกิจ กต.ตร.
            2.ผังโครงสร้าง กต.ตร.สภ.บัวเชด
            3.ผลการดำเนินงาน กต.ตร.สภ.บัวเชด

บทบาทอำนาจ กต.ตร.

บทบาทภารกิจ กต.ตร.

ผลการดำเนินงานของ กต.ตร. สถานีตำรวจภูธรบัวเชด

เดือน ตุลาคม 2566

  • กต.ตร.สภ.บัวเชด มอบเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือผู้พิการ ผู้ยากไร้ “วันปิยมหาราช” เพื่อร่วมกันทำความดีเฉลิมพระเกียรติ และแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2566 เวลา 14.00 น. พ.ต.อ.รัฐวิชญ์ อนันต์ดิลกฤทธิ์ ผกก.สภ.บัวเชด ร.ต.ท.ธนิตพงศ์ กิตติระวีวัฒน์ ด.ต.จินดา โกฏิไธสง ส.ต.ต.วัชพล คำดีเงิน พร้อมด้วยนายชนะชล มูลจันทร์ ประธาน กต.ตร.สภ.บัวเชด นายทินกร เอ็นดู นางเกศินี ยอดทอง นายศักดา สุขตน นายสอน จามิตร และคณะกรรมการ กต.ตร.สภ.บัวเชด ส.อบต.จรัส ร่วมกันมอบเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือผู้พิการ รายที่ 1 นายเตือน สุขสวรรค์ อายุ 80 ปี พิการทางร่างกายและไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งอาศัยอยู่กับพี่สาว นางแมะ จงหาญ อายุ 83 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 1 ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ โดยอาศัยอยู่ในบ้านไม้ที่เก่าและทรุมโทรม ห้องสุขาชำรุดไม่ถูกสุขลักษณะ อาศัยอยู่ด้วยความยากลำบาก นางแมะ มีอาชีพรับจ้างทั่วไป และมีรายได้จากเบี้ยผู้สูงอายุ รายที่ 2 นางเผอะ พัวลัง อายุ 68 บ้านเลขที่ 68 บ้านออด หมู่ที่ 11 ตำบลบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้ยากไร้และพิการประเภท3 อาศัยอยู่เพียงลำพัง มีอาการปวดขาและเดินไม่สะดวกใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเวลาเดิน มีรายได้จากเบี้ยผู้สูงอายุเท่านั้น รายที่ 3 นายสมาน สมาเมฆ อายุ 83 ปี บ้านเลขที่ 253 บ้านออด หมู่ 11 ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เป็นผู้ยากไร้และพิการประเภท2 มีรายได้จากเบี้ยผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งถุงยังชีพประกอบไปด้วย ข้าวสาร 15 กิโล น้ำมันพืช ไข่ไก่ น้ำปลา มาม่า ปลากระป๋อง ผงชูรส ผงปรุงรส ผงซักฟอก นมถั่วเหลือง น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จรูป น้ำดื่ม และเงินสด
ทั้งนี้ การมอบเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือผู้พิการและผู้ยากไร้ในครั้งนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “วันปิยมหาราช” ประจำปี 2566 เพื่อร่วมกันทำความดีเฉลิมพระเกียรติ และแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโครงการ จิตอาสาพระราชทาน “เราทำความดีเพื่อ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” โดยมีพระบรมราโชบายให้เริ่มทำจากเล็กไปใหญ่ ปัจจุบันมีทั้งส่วนราชการ และประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก ซึ่งต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

เดือน พฤศจิกายน 2566

เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00-12.00 น.
นายชนะชล มูลจันทร์ประธาน กต.ตร.สภ.บัวเชดคณะกรรมการ กต.ตร.สภ.บัวเชด
ได้ร่วมกันจัดทำก๋วยเตี๋ยวหมู-ลูกชิ้นหมูเพื่อให้บริการ เจ้าหน้าที่พยาบาล
บุคคลกรทางการแพทย์เจ้าหน้าที่หน่วยกาชาดสุรินทร์ที่มาออกหน่วยรับบริจาคโลหิต
และบริการประชาชนที่มาร่วมบริจาคโลหิตณ. โรงเรียนบัวเชดวิทยา
มีผู้เข้าร่วมบริจาคโลหิตจำนวน 128 คน
บริจาคอวัยวะ จำนวน 3 คน
บริจาคดวงตา จำนวน 3 คน

เดือน ธันวาคม 2566

เดือน มกราคม 2567 ไม่มีกิจกรรม

เดือน กุมภาพันธ์ 2567 ไม่มีกิจกรรม

เดือน มีนาคม 2567 ไม่มีกิจกรรม

ช่องทางติดตาม กต.ตร.สภ.บัวเชด